วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบวิชา BM711การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานของ ม.รามคำแหง

แนวข้อสอบวิชา BM711การจัดการทรัพยากรมนุษย์  เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานของ ม.รามคำแหง

มีหลายไฟล์นะคครับ  ลองไปโหลดกันดู เกี๋ยวกับ กฎหมายแรงงาน ในวิชา BM711 ครับ

เลือก คลิกตามลิงก์ จากเว็บ mediafire ครับ

ตัวอย่างแนวข้อสอบ 1

ตัวอย่างแนวข้อสอบ 2

สรุปหลักกฏหมายแรงงาน

1. เรื่องการทดลองงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานปัจจุบัน มิได้จำแนกประเภทของลูกจ้างไว้ ดังนั้น ลูกจ้างทดลองงานจึงถือว่าเป็นลูกจ้าง มีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างทั่วไป “ เมื่อนายจ้างไม่ประสงค์จะจ้างลูกจ้างทดลองงานต่อไป ก็ต้องบอกเลิกจ้าง โดยต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบในวันจ่ายค่าจ้างหรือก่อนวันจ่ายคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างคราวถัดไป “ หากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือบอกกล่าวไม่ครบหรือถูกต้องตามกำหนดเวลาข้างต้นก็ต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าตกใจ ให้กับลูกจ้าง


2. เรื่องการเกษียณอายุ
การที่บริษัทมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างหญิง เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี และลูกจ้างชายเมื่ออายุครบ 55 ปี นั้น บริษัทปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อบังคับเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี ไม่มีผลบังคับใช้ เป็นโฆฆะ การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเมื่ออายุครบ 50 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานอาจสั่งให้บริษัทฯ (จำเลย) รับลูกจ้างหญิงกลับเข้าทำงาน (โจทก์) หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนก็ได้

3.เรื่องวันหยุดวันลา (เฉพาะที่ อาจารย์เน้น)
3.1 วันหยุด
3.1.1 วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
3.1.2 วันหยุดตามประเพณี กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี ( ไม่ใช่เอาวันหยุดของข้าราชการมาใช้ ซึ่งหยุด 16 วัน และไม่หยุดวันแรงงานด้วย ) วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น รวมแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
3.1.3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1.3.1 เมื่อทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6
วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
3.1.3.2 เมื่อทำงานติดต่อมาแล้วครบ 1 ปี ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดให้มากกว่า 6 วัน ทำงานก็ได้
3.1.3 .3 กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดให้ตามสัดส่วนก็ได้
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะสะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ยังไม่ได้หยุดในปีนี้นั้นรวม
กับปีต่อ ๆ ไปได้ โดยตกลงกันล่วงหน้าระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และถ้าลูกจ้างมีสิทธิลาแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธิแต่ถูกเลิกจ้างก่อนโดยไม่ได้กระทำความผิดอันทำให้หมดสิทธิได้รับค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมด้วย

.2 วันลา

3.2.1 วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วยแต่ไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน และไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
3.2.2 วันลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
3.2.3 วันลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้นตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และวันลาดังกล่าวให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย การลาคลอดไม่ต้องแสดงใบสมรสหรือสูจิบัตร
เวลาทำงานปกติ วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา

1. เป็นความยินยอมของลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไม่ใช่ต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง
2. ลูกจ้างทุกคน ทุกตำแหน่ง มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลา เพราะถือเป็นลูกจ้าง
อัตราค่าจ้างล่วงเวลา ( เผื่อไว้ อ.ไม่ได้เน้น)
1. ทำเกินเวลาในวันทำงานปกติ จ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
2. ทำเกินเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
3. ถ้าให้ทำในวันหยุด จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ด้วย ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
4.ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอย่างอื่น หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ข้อสังเกต อย่าสับสนกับเงินสวัสดิการ ดังนั้น ให้ดูที่เจตนาของนายจ้างด้วย ถ้าเป็นการจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อไปจ่ายจริงและมีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินนั้น ก็เป็นเงินสวัสดิการ มิใช่เงินค่าจ้าง เช่น การเหมาจ่ายค่ารถ ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ซึ่งต้องจ่ายจริงโดยกะประมาณตามความจริง แต่ถ้านายจ้างจ่ายโดยไม่คำนึงถึงว่าลูกจ้างจะนำไปใช้จ่ายจริงหรือไม่ เพียงแต่ว่า เมื่อลูกจ้างทำงานตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ก็จะได้ค่าพาหนะหรือค่าน้ำมันรถ ถือว่า นายจ้างมีเจตนาจ่ายให้เป็นรายได้ของลูกจ้าง เงินนั้นเป็นค่าจ้าง และหากนายจ้างมีเจตนาจ่ายให้ลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ และเป็นจำนวนเงินแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง ได้แก่ เงินรับรอง , เงินประจำตำแหน่ง , เงินเบี้ยเลี้ยง เงินค่านายหน้า เงินค่าครองชีพ เงินค่าเบี้ยกิโลเมตร เป็นต้น ส่วนเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ถือเป็นสวัสดิการ เช่น ค่าอาหาร เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยค่าน้ำประปา-ไฟฟ้า เงินช่วยค่าเช่าบ้าน เงินโบนัส เบี้ยขยัน เงินรางวัลประจำปี เงินบำเหน็จ เป็นต้น

5. เรื่องการลาออก

1. ลูกจ้างจะลาออกด้วยวาจาหรือยื่นใบลาออกก็ได้โดยลงนามฝ่ายเดียวก็มีผลบังคับใช้ ไม่ต้องให้
นายจ้างลงนามอนุมัติก็ได้ และเมื่อยื่นกับนายจ้างแล้วถือว่ามีผลบังคับใช้ทันที ลูกจ้างจะยกเลิกไม่ได้
และนายจ้างก็ต้องให้ออกตามวันที่ลูกจ้างกำหนด ในกรณีการลาออกโดยให้มีผลล่วงหน้าก็ทำได้
2. เอกสารใบลาออกเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกจ้าง ลูกจ้างจะฉีกทิ้งเองหรือทำอย่างไรกับ
เอกสารก็ได้ แต่เมื่อยื่นให้นายจ้างแล้ว กรรมสิทธิ์จะตกอยู่กับนายจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างยื่นให้นายจ้างแล้วไปเอามาฉีกทิ้ง จะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ถือเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมายแรงงาน และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. เมื่อลูกจ้างลาออกหรือถูกนายจ้างเลิกจ้างทุกกรณี นายจ้างต้องออกใบผ่านงานให้กับลูกจ้าง โดยระบุได้ 2 ข้อ คือ ทำงานมานานเท่าไหร่ กับ งานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร เท่านั้น การระบุเรื่องจริงลงไปแล้วทำให้ลูกจ้างเสียหาย ทำไม่ได้ เพราะ
1. กฎหมายไม่ได้ให้ระบุ
2. เจตนาไม่สุจริต
3. ใช้สิทธิในทางที่จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
4. ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย
5. ลูกจ้างใช้ประโยชน์จากใบผ่านงานนั้นไม่ได้

6. เรื่องค่าชดเชย

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีดังต่อไปนี้

1. บอกกล่าวกับลูกจ้างโดยตรงว่าเลิกจ้าง
2. ลูกจ้างเกษียณอายุ
3. เป็นลูกจ้างซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
4. เป็นลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วัน แล้ว
5. ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างพ้นความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชย เช่น ทุจริต
ต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง , การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว , ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันควร , ได้รับโทษจำคุก เป็นต้น
อัตราการจ่ายค่าชดเชย (เผื่อไว้ อ.ไม่ได้เน้น)
1. ทำงาน 120 วัน ไม่ครบ 1 ปี จ่าย ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ทำงานครบ 1 ปี ไม่ครบ 3 ปี จ่าย ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3. ทำงาน 3 ปี ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ทำงาน 6 ปี ไม่ครบ 10 ปี จ่าย ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5. ทำงาน 10 ปีขึ้นไป จ่าย ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

7.เรื่องกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

องค์กรทางแรงงาน
1. องค์กรฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ สมาคมนายจ้าง, สหพันธ์นายจ้าง
2. องค์กรฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ สหภาพแรงงาน,สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง , คณะกรรมการลูกจ้าง
อ.เน้นเรื่องคณะกรรมการลูกจ้าง ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครอง โดย “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน” ซึ่งถ้านายจ้างฝ่าฝืน ก็ทำให้การเลิกจ้างนั้น เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องรับผิดทางอาญา

อาจารย์ ให้หลักการพิจารณาของศาล เพื่อออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามที่นายจ้างยื่นคำร้องขอต่อศาล ดังนี้
1. เป็นกรรมการลูกจ้างอยู่ขณะนั้น
2. ได้กระทำการดังที่กล่าวหาจริง
3. มีข้อบังคับหรือระเบียบหรือคำสั่งกำหนดไว้
4. ยังไม่ล่วงเลยเวลาที่จะลงโทษ
5. ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าไม่ติดใจลงโทษแล้ว
6. มีบทกำหนดโทษที่จะลงโทษในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
7. เป็นโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย
8. ระดับโทษตรงตามที่กำหนดไว้
9. ลงโทษที่เหมาะสมกับการกระทำผิดนั้น

1. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน

1.1 การยื่นข้อเรียกร้องเพื่อกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ผู้มีสิทธิยื่นข้อเรียกร้อง
1) ฝ่ายนายจ้าง แจ้งเป็นหนังสือ ระบุชื่อเข้าร่วมในการเจรจาซึ่งอาจเป็นตนเองหรือผู้แทนก็ได้ แต่
ผู้แทนจะต้องเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือลูกจ้างประจำของนายจ้าง กรรมการของสมาคมนายจ้าง หรือกรรมการของสหพันธ์นายจ้าง และผู้เข้าร่วมในการเจรจาต้องมีจำนวนไม่เกิน 7 คน
2) ฝ่ายลูกจ้าง ( เน้นให้จำ )
2.1 กลุ่มลูกจ้าง จะต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น โดยถ้าลูกจ้างได้เลือกผู้แทนเข้าร่วมเจรจาก็ต้องระบุชื่อผู้แทนที่จะเข้าร่วมการเจรจามีจำนวนไม่เกิน 7 คน
2.2 สหภาพแรงงาน ยื่นข้อเรียกร้องแทนสมาชิกได้ โดยจำนวนสมาชิก ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจำนวนไม่
น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด กรณีของสหภาพแรงงาน ไม่ต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
ข้อเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือ และจะต้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คือเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้างหรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง หรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติม หรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และข้อกำหนดเกี่ยวกับวินัย หรือการลงโทษ

ข้อเรียกร้องมี 2 กรณี คือ

1. เรียกร้องตามที่ ”มี” กฎหมายกำหนด แบ่งเป็น
1.1 เรียกร้อง ”ต่ำกว่า” ที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ นายจ้างไม่อาจต่อรองและไม่อาจตกลง แต่อาจเจรจา แสดงน้ำใจให้ตามที่กฎหมายกำหนด
1.2 เรียกร้อง “เท่า” ที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ นายจ้างไม่อาจต่อรองและไม่อาจตกลงแต่อาจเจรจา แสดงน้ำใจให้ตามที่กฎหมายกำหนด
1.3 เรียกร้อง ”สูงกว่า” ที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆนายจ้างต่อรองได้และเจรจาให้ได้เท่าหรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด

2. เรียกร้องเรื่องที่ ”ไม่มี” กฎหมายกำหนด ได้แก่ เงิน สิ่งของ สิทธิประโยชน์ นายจ้างสามารถเจรจาได้ ต่อรองได้ ตกลงก็ได้หรือไม่ตกลงก็ได้

ข้อสังเกตุ กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างอันลูกจ้างพึงได้รับการปฏิบัติ ดังนั้น หากจำหลักกฎหมายไม่ได้ ให้พิจารณาตามความเป็นไปได้โดยให้ฝ่ายลูกจ้างได้รับประโยชน์มากที่สุดไว้ก่อน เช่น ลูกจ้างทำผิดเล็ก ๆ น้อย นายจ้างต้องมีหนังสือตักเตือนก่อน หรือว่ากล่าวหัวหน้างาน อย่าตอบว่า ให้เลิกจ้าง , ไล่ออก เป็นต้น

เครดิต http://www.ramtangdaen.com/index.php?option=com_kunena&Itemid=53&func=view&catid=22&id=334

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น